เงื่อนไขการใช้ และ นโยบายส่วนบุคคล •
ในปัจจุบันคาดว่ามีผู้ใช้งาน SMS มากกว่า 5 พันล้านคนทั่วโลก ซึ่งมากกว่าการส่งข้อความโดยใช้ WhatsApp ที่ประมาณการว่ามีผู้ใช้งานอยู่มากกว่า 2 พันล้านคน
การรับส่งข้อความเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคในปัจจุบันชื่นชอบ เนื่องจากเป็นการสื่อสารที่มีปฏิสัมพันธ์กับแบรนด์ ซึ่งการส่ง SMS นั้น ไม่สามารถสนับสนุนการแชร์ข้อมูล หรือการโต้ตอบแบบสองทางระหว่างแบรนด์และลูกค้าได้อีกต่อไป |
ข้อมูลจาก: Statista
RCS นั้นรองรับการใช้งานได้ในอุปกรณ์ Android ซึ่งสามารถตั้งค่าความปลอดภัยและมีฟีเจอร์ที่ดีกว่าการใช้งาน SMS แบบเก่า
วิธีการหลักในการใช้งาน RCS คือการใช้แอปสำหรับส่งข้อความของ Android ที่ Google พัฒนาขึ้น และยังสามารถใช้แอป Samsung Message ที่กำลังจะเพิ่มเข้ามาได้อีกด้วย ทั้งนี้ทำให้เกิดการตั้งคำถามกับทาง Apple เกี่ยวกับการสนับสนุนให้สามารถใช้งาน RSC เพื่อทำให้เกิดความเท่าเทียมกับผู้ใช้งาน Android มากขึ้น
RCS คืออะไรกันแน่ ?
ศัพท์ทางเทคนิค: RCS ย่อมาจาก Rich Communication Services ซึ่งเป็นโปรโตคอลการสื่อสารระหว่างผู้ให้บริการเครือข่ายและโทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยมีเป้าหมายที่จะแทนที่ข้อความ SMS ด้วยความสามารถในการส่งข้อความที่ยอดเยี่ยมกว่าและสามารถส่งผ่านมัลติมีเดียการโทรได้
ลิงก์วิกิพีเดียสำหรับคำอธิบายด้านบน (https://en.wikipedia.org/wiki/Rich_Communication_Services)
คำอธิบายสำหรับคนทั่วไป: นี่คือการอัปเกรดมาตรฐานในการส่ง SMS/MMS ที่ใช้งานจากสมาร์ทโฟน โดยจะรองรับการปรับปรุงเพิ่มเติมแอพส่งข้อความของเราให้ดีขึ้น เช่น แจ้งเมื่อมีการเปิดอ่าน, การส่งภาพ และเพิ่มความปลอดภัยในการใช้งานมากขึ้น
คุณสามารถคิดถึงภาพการใช้งานที่คล้ายกับ iMessage จาก Apple โดยแม้ว่าจะมีผู้ใช้น้อยกว่าแต่เพิ่มความมีมาตรฐานมากขึ้น
ข้อดีของ RCS
1. รองรับการแชร์, การส่งไฟล์ที่มีความละเอียดสูง และข้อมูลอื่น ๆ
- ภาพถ่าย
- วิดีโอ
- ที่ตั้ง (Location)
- แชทกลุ่ม
- แจ้งเตือนเมื่อมีการเปิดอ่าน
- แจ้งว่าปลายทางกำลังพิมพ์ (Typing indicators)
2. การเข้ารหัสระหว่างคู่สนทนาสองคนตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง (End-to-end encryption)
3. มาตรฐานการรับส่งข้อความในเครือข่าย 5G
การเติบโตของการใช้งาน RCS ได้ขยายไปทั่วโลก ซึ่งกระตุ้นให้แบรนด์ต่าง ๆ ตามเทรนด์และย้ายจากการใช้งาน SMS แบบเดิม มาสู่ยุคใหม่ของ RCS
บริษัท SMS ให้บริการการเชื่อต่อ API ที่แบรนด์สามารถใช้เพื่อทำให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์การบริการลูกค้าจากแอปพลิเคชันทางธุรกิจ เช่น:
ข้อความธุรกรรม - ข้อความจากแอปพลิเคชันถึงบุคคล (A2P) ใช้สำหรับส่งข้อความแจ้งเตือน (notifications), การแจ้งเตือน(alerts), การส่งรหัสผ่านแบบใช้ครั้งเดียว, ส่งข้อมูลการบริการ ฯลฯ
ข้อความการตลาดและการส่งเสริมการขาย- ข้อความจากแอปพลิเคชันถึงบุคคล (A2P) ใช้เพื่อส่งข้อความทางการตลาด เช่น แจ้งเกี่ยวกับข้อมูลผลิตภัณฑ์, การประกาศขาย, ข้อเสนอโปรโมชัน, คูปอง และอื่นๆ
การส่งข้อความสนทนา - การส่งข้อความสองทาง (A2P และ P2A) ที่เป็นส่วนหนึ่งของแชทบอทสำหรับสร้างการมีส่วนร่วมกับลูกค้า, การขาย, การสนับสนุน, และการแชทกับตัวแทน
Apple รองรับ RCS หรือไม่ ?
ปัจจุบัน Apple ไม่อยู่ในรายชื่อ OEM ที่รองรับ RCS และไม่ได้ระบุว่าในที่สุดแล้วพวกเขาจะรองรับโปรโตคอลนี้หรือไม่ แต่สำหรับตอนนี้พวกเขายังไม่ตัดสินใจที่จะเพิ่มการรองรับ RCS เข้ามาในแพลน
Apple กล่าวว่าขณะนี้มีอุปกรณ์ Apple 1.65 พันล้านเครื่องที่กำลังใช้งานอยู่ ซึ่งถือเป็นเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่และเป็นความสำเร็จของบริษัท
อย่างไรก็ตามหาก Apple ไม่ใช้ RCS จะทำให้ผู้ใช้งาน Apple ต้องพึ่งพาแอปอื่น ๆ เช่น WhatsApp, Facebook Messenger หรือ LINE ในการส่งข้อความถึงเพื่อนและครอบครัวที่ใช้งาน Android เพื่อทำให้สามารถส่งรูปภาพ, วิดีโอ และข้อมูลอื่น ๆ ระหว่าง IOS และ Android ได้
อาจเป็นเพราะ Apple ได้ให้บริการแอป iMessage แก่ผู้ใช้งานแล้ว จึงอาจทำให้ไม่เห็นความจำเป็นในปรับหรือขยายการส่งข้อความให้หลากหลายขึ้น เพื่อให้ผู้ใช้งานโต้ตอบกับผู้ใช้งานในแพลตฟอร์มอื่น ๆ
ในช่วงที่ผ่านมาไม่นานนี้ คุณ Hiroshi Lockheimer รองประธานอาวุโสฝ่าย Android ของ Google ได้กระตุ้นให้ Apple นำ RCS มาใช้ ซึ่งความพยายามนี้จะนำไปสู่การส่งข้อความที่ปลอดภัยยิ่งขึ้นสำหรับผู้ใช้งานทุกคนโดยไม่คำนึงถึงแพลตฟอร์ม เนื่องจากหากไม่ใช้แพลตฟอร์มดังกล่าวจะเป็นการกีดกันความก้าวหน้าทางอุตสาหกรรมของทั้งผู้ใช้งาน iPhone และ Android เพราะจะทำให้ไม่สามารถโต้ตอบกันด้วยการส่งข้อความในรูปแบบที่ดีที่สุด